วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเพณี ตักบาตรดอกไม้

อ้างอิง : http://www.prap ayneethai.com
               http://guru.sanook.com
           http://xn--k3cpjt9d6a4e.net
               http://www.manager.co.th
          http://www.paiduaykan.com
               http://www.dmc.tv/pages
               http://www.watbowon.com
               http://www.sac.or.th
               http://athlons.blogspot.com
ประเพณี ตักบาตรดอกไม้

ความสำคัญ
เจตนาเดิมของชาวบ้านที่ทำประเพณีนี้เพราะต้องการให้พระที่กำลังเดินขึ้นไปที่พระอุโบสถ เพื่ออธิษฐานเข้าพรรษาได้มีดอกไม้บูชาพระ ชาวบ้านเองก็พลอยเป็นผู้ได้บุญไปด้วย แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิธีการใหญ่ มีประชาชนจากท้องถิ่นอื่นมาร่วมงาน ขบวนรถแต่ละอำเภอตกแต่งสวยงาม บางครั้งก็มีการโฆษณากิจกรรมของท้องถิ่นตนไปด้วย เป็นงานที่รวมคน รวมความคิด รวมฝีมือ และรวมศรัทธา

ความเป็นมาของประเพณี ตักบาตรดอกไม้
            ประเพณีตักบาตรดอกไม้ เป็นประเพณีเดิมของชาวพระพุทธบาทที่ปฏิบัติกันมาเนิ่นนานแล้วมีการเชื่อมโยงอ้างอิงไปถึงสมัยพุทธกาลตามพุทธตำนานว่านายสุมนมาลาการมีหน้าที่เก็บดอกมะลิ ณ อุทยานหลวงวันละ ๘ กำมือ นำไปถวายพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองกรุงราชคฤห์ วันหนึ่งขณะที่นายสุมนมาลาการเก็บดอกมะลิอยู่นั้น ได้พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่ง นายสุมนมาลาการเกิดการเลื่อมใสจึงนำดอกมะลิทั้ง ๘ กำมือ ถวายบูชาพระพุทธองค์โดยมิได้เกรงพระราชอาญาจากพระเจ้าพิมพิสารที่ตนไม่มีดอกมะลิไปถวายในวันนั้นจิตของนายมาลาการมีแต่ความผ่องใส เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก ได้บำเหน็จรางวัลความดีความชอบแก่นายสุมนมาลาการเป็นสิ่งของทั้งปวงนายสุมนมาลาการจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม

          นี่คือ อานิสงส์ที่ถวายดอกไม้แด่พระพุทธเจ้าในครั้งนั้นชาวพระพุทธบาทจึงนำพุทธตำนานดังกล่าว ยึดถือประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีสำคัญ ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นประจำทุกปี และกำหนดเอาวันเข้าพรรษาคือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปีเป็นประเพณีตักบาตรดอกไม้

  ในวันนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ในวันนั้นชาวพุทธต่างพากันเก็บดอกไม้ชนิดหนึ่ง ดอกสีเหลือง หรือดอกสีขาว ออกดอกเป็นช่อยาวโค้งลงซึ่งขึ้นอยู่ตามไหล่เขาในเขตจังหวัดสระบุรี ในบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่า ดอกเข้าพรรษา เนื่องจากดอกไม้ชนิดนี้จะออกดอกเฉพาะในช่วงวันเข้าพรรษาเท่านั้น
เมื่อพระภิกษุสงฆ์เดินขึ้นบันไดเพื่อไปสักการะรอยพระพุทธบาท ชาวบ้านที่ยืนคอยอยู่ตามเชิงบันไดก็จะนำขันน้ำ ใส่น้ำลอยด้วยดอกพิกุล มานั่งรออยู่ตามขั้นบันได เพื่อคอยล้างเท้าให้พระภิกษุสงฆ์ ด้วยความเชื่อที่ว่าการล้างเท้าให้พระภิกษุสงฆ์เป็นการชำระล้างบาปที่เคยกระทำมาให้หมดไป
ก่อนถึงวันประเพณีตักบาตรดอกไม้ ชาวบ้านจะช่วยกันออกเก็บดอกเข้าพรรษาที่ขึ้นอยู่ตามเชิงเขาโดยรอบ ในระหว่างที่หา ชาวบ้านก็มีโอกาสได้พูดคุย ซักถามสารทุกข์สุขดิบของกันและกัน และเมื่อนำดอกไม้กลับมาตัดแต่งใบ นำมาเข้าช่อร่วมกับธูปเทียนมมัดเป็นกำเล็ก เตรียมไว้สำหรับตักบาตรดอกไม้ในวันรุ่งขึ้น บ้านไหนที่เก็บได้มาเยอะ ก็จะมีการแบ่งปันกันให้นำกลับไปบ้านของตนเอง
1217934727
พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลกันมาต่อแถวตักบาตรดอกไม้ที่ วัดพระพุทธบาทฯ
        วันเข้าพรรษา ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่พระสงฆ์จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ ซึ่งการเข้าพรรษาตามปกติจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งในแต่ละพื้นที่ของเมืองไทยต่างจัดเทศกาลงานบุญประเพณี รับเทศกาลเข้าพรรษากันไปตามคติความเชื่อของท้องถิ่นตน ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานแห่เทียนเข้าพรรษาที่มีทั้งจัดใหญ่ จัดเล็ก ตามแต่กำลังศรัทธา
       
       นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งประเพณีสำคัญที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบทอดต่อๆกันมา ซึ่งถือได้ว่าโดดเด่นไม่น้อยในวันเข้าพรรษา นั่นก็คือ“ประเพณีตักบาตรดอกไม้” ที่ถือเอาวันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) เป็นวันตักบาตรดอกไม้ 

พิธี/กิจกรรม
ชาวอำเภอพระพุทธบาทมีประเพณีตักบาตรดอกไม้มานานตั้งแต่ครั้งโบราณกาล พิธีเริ่มตั้งแต่ตอนเช้า คนแก่ คนเฒ่าตลอดจนคนหนุ่มสาวพากันไปวัด เพื่อทำบุญตักบาตรข้าวสุก แด่พระภิกษุสงฆ์พระพุทธบาทราชวรวิหาร เสร็จจากการทำบุญตักบาตรแล้วบรรดาหนุ่มสาวพากันออกจากบ้านไปเก็บ ดอกไม้เพื่อเตรียมเอาไว้ตักบาตร ในตอนบ่ายของวันเดียวกัน ดอกไม้ที่ใช้เลือกเอาเฉพาะดอกที่ออกในเดือน 8 ข้างขึ้นเท่านั้น และดอกไม้ชนิดหนึ่ง เป็นที่นิยมมาก และมีเฉพาะในป่าเขา เขตจังหวัดสระบุรีเท่านั้นชาวบ้านเรียกว่า“ดอกเข้าพรรษา” ดอกเข้าพรรษานี้ ชื่อทางพฤกษศาสตร์อยู่ในสกุล กลอบบา (Globba) มีลักษณะคล้ายกับต้นกระชายหรือขมิ้น สูง 1 คืบเศษๆ มักขึ้นตามท้องที่ป่าเขาที่มีความชุมชื้นค่อนข้างสูง ลำต้นขึ้นเป็นกอจาก หัวหรือเหง้าใต้ดิน ดอก ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อส่วนยอดของลำต้นมีหลายสี เช่น ขาว เหลืองเหลืองแซมม่วง และบางต้นก็มีสีน้ำเงินม่วง มีดอกรองรับใน ช่อดอกดูเป็นช่อใหญ่สวยงาม โดยเฉพาะชนิดดอกเหลืองจะมีกลีบรองสีม่วงสะดุดตามาก ชาวบ้านบางคนจึงเรียกว่า ดอกยูงทอง หรือ ดอกหงส์ทอง ดอกไม้นี้พบมากตามไหล่เขาโพธิลังกา หรือเขา สุวรรณบรรพต เขาช้าง หรือเขาเซียน เทือกเขาวง เขาผุ บรรดาเขาเหล่านี้อยู่ในเขตติดต่อกัน 3 ตำบล คือ ตำบลขุนโขลน ตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท และตำบลพุแค อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรีเมื่อเก็บ ดอกไม้มาแล้วก็นำมามัดรวมกับธูป เทียนเสร็จแล้วชาวบ้านมาตั้งแถวอยู่ริมถนนทั้ง 2 ข้าง เริ่มตั้งแ่ต่่วงเวียนถนน สายคู่ไปจนถึงประตูพระมณฑปพระพุทธบาท เมื่อถึงเวลาอันเป็นมงคลมี ขบวนนำหน้าพระภิกษุสงฆ์ เป็น ขบวนแห่กลองยาว พร้อมด้วยนางรำรำหน้ากลองยาวอย่างสนุกสนานครึกครื้นทั้งสองฟากแออัดด้วยฝูงชน ต่อจาก ขบวนกลองยาวเป็นพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนรถแห่ตามมาจากนั้นเป็นขบวนพระสงฆ์เดินมาเพื่อบิณฑบาตร ดอกไม้ แต่เดิมเมื่อถึงเวลา ตักบาตรดอกไม้ ผู้เป็นหัวหน้าประชาชนจะกล่าวคำนำถวายดอกไม้ต่างๆ เป็นคำบาลีและ ีคำไทย ดังนี้
     “อิมานิ มยํ ภนฺเต วรปุปผานิ สงฺฆสิส โอโณชยาม สาธุโน ภนฺเต สงโฆ อิมานิ วรปุปผานิ ปฏคฺคณฺหาตุ อมฺหาถํ ทีฆรตฺตํ หิตายสุขาย” แปลว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ซึ่งดอกไม้อันประเสริฐทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์ จงรับซึ่งดอกไม้อันประเสริฐทั้งหลาย เหล่านี้เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อความสุขแก่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ”

พระสงฆ์รับดอกไม้ไปเรื่อยๆ ไปจนถึงประตูพระมณฑปพระพุทธบาทแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีของฆราวาส ส่วน พิธีการด้านพระภิกษุสงฆ์ เมื่อรับ บิณฑบาตดอกไม้แล้วเครื่องสักการะวันทา “รอยพระพุทธบาท” อันเป็น เวลาพลบค่ำ ยังนำเอาดอกไม้มาวันทาพระเจดีย์ “จุฬามณี” ก็นำออกไปใน มณฑป พระพุทธบาท เอาดอกไม้ อันเป็นเจดีย์ที่บรรจุี่้ พระเขี้ยวแก้วจำลองของพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีก แล้วนำไปสักการะ พระเจดีย์ พระมหาธาตุองค์ใหญ่ ซึ่งชาว พุทธถือกันว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูกซี่โครงของพระพุทธเจ้า) พระเจดีย์องค์นี้เหมือนกับ เจดีย์พระธาตุพนม เป็นการคารวะต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นพระภิกษุสงฆ์และ สามเณรทั้งหมดก็จะเดินตรงไปเข้า อุโบสถสวด อธิษฐาน เข้าพรรษา เปล่งวาจาอยู่ในอาณาเขตที่จำกัด ในระหว่าง ฤดูกาลเข้าพรรษาในขณะที่พระภิกษุสงฆ์ ์และสามเณรจะเข้าอุโบสถบริเวณบันไดประชาชน นำน้ำ สะอาด ล้างเท้าแด่พระภิกษุสงฆ์ด้วยความเข้าใจว่าเป็นการชำระ ล้างบาปของตนที่ได้กระทำให้หมดสิ้นไป แล้วย้อนกลับ ขึ้นไปยังพระมณฑป อีกครั้ง เป็นการปฐมเทศนาขอปฏิบัติตาม ทางธรรมของพระพุทธองค์ทุกประการ เป็นอันเสร็จ สิ้นพิธีสงฆ์ในวันตักบาตรดอกไม้ของชาวพระพุทธบาท

ประเพณีตักบาตรดอกไม้ : ข้อปฏิบัติที่ดีงามในการตักบาตร

- แต่งกายด้วยชุดขาว หรือเสื้อขาวเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
- อาหารใส่บาตรควรเป็นอาหารแห้ง
- ข้าวสารควรบรรจุถุงให้เรียบร้อย
- งดใส่ น้ำดื่มชนิดแก้วพลาสติก
- งดใส่ปัจจัยลงในบาตรท่านสามารถบริจาคได้ที่จุดรับบริจาค หรือต้นผ้าป่าที่มีเจ้าหน้าที่ดูแล
- รักษาใจให้ ผ่องใส น้อมถวายไทยธรรมเป็นสังฆทาน
- ใส่บาตรด้วยความเคารพ ด้วยการนั่งใส่บาตรโดยให้แถวหน้าใส่ให้เสร็จก่อน


 ประวัติความเป็นมาของการตักบาตรดอกไม้
นายสุมนมาลาการ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ เขามีหน้าที่นำดอกมะลิวันละ ๘ ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสารแต่เช้าตรู่ทุกวัน ได้ทรัพย์วันละ ๘ กหาปณะ
ต่อมาเช้าวันหนึ่ง ขณะที่เขากำลังถือดอกไม้จะเข้าประตูเมือง พระพุทธเจ้าเสด็จออกบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงเปล่งพระรัศมีด้วยพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ เขาเห็นพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใสคิดว่า "เราจักบูชาพระพุทธเจ้าด้วยอะไรดีหนอ" เมื่อไม่เห็นสิ่งใดจึงตัดสินใจจะถวายดอกไม่ที่จะนำไปถวายพระราชา ด้วยการตกลงใจว่า "เอาเถอะเมื่อพระราชาไม่ได้รับดอกไม้ จะทรงฆ่าเราหรือขับไล่ออกจากเมืองก็ตาม พระราชาทรงประทานทรัพย์เพียงพอแก่การเลี้ยงชีพเท่านั้น ส่วนการบูชาพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เราหาประมาณมิได้ทีเดียว "ได้สละชีวิตของตนเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า
นายมาลาการได้ถวายดอกไม้บูชาพระพุทธเจ้าไปทั้ง ๘ ทะนานดอกไม้เหล่านั้นได้เป็นซุ้มติดตามเสด็จพระพุทธองค์ไปทุกหนทุกแห่ง ชาวเมืองต่าง แตกตื่นกันออกมาด ูแลถวายทานกันทุกถ้วนหน้า พากันโห่ร้องเสียงสาธุการ ทุกที่พระพุทธองค์เพื่อจะทรงทำคุณความดีของนายสุมนมาลาการให้เป็นที่ปรากฎไปทั่วเมืองราชคฤห์ก็ได้เสด็จไปทั่วทุกมุมเมือง ส่วนนายมาลาการได้มีความปลาบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งตามเสด็จไปหน่อยหนึ่งแล้ว ก็ถือกระเช้าเปล่าเดินกลับบ้านไปด้วยสีหน้าอันเอิบอิ่ม
เมื่อถึงบ้าน นายสุมนามาลาการได้เล่าเรื่องที่ตนได้นำดอกไม้บูชาพระพุทธเจ้าให้ภรรยาฟัง ภรรยาของเขาเป็นหญิงไม่ดีไม่มีศรัทธา กลับด่าว่าเขาจักนำความพินาศมาให้ตระกูล รีบนำความเข้ากราบทูลพระราชา และทูลความที่ตนไม่เห็นดีเห็นงามด้วย
พระเจ้าพิมพิสารเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบันแล้ว พระองค์เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อได้สดับดังนั้นแล้วทรงทราบว่าหญิงนี้เป็นหญิงไม่ดีไม่มีศรัทธา จึงทรงทำทีเป็นกริ้วตรัสว่า "ดีแล้วละที่เธอทิ้งเขามา เดี๋ยวเราจักจัดการกับนายสุมนมาลาการ" แล้วรีบเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้วตามเสด็จไป พระพุทธองค์เพื่อประกาศเกียรติคุณของนายสุมนมาลาการให้ประชาชนทราบ จึงประทับที่พระลานหลวงไม่เสด็จเข้าไปในพระราชวัง พระราชาได้ถวายภัตตาหารแก่พระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ ตามส่งพระพุทธเจ้าเสด็จกลับวัดเวฬวันแล้ว จึงมีรับสั่งให้นายสุมนมาลาการเข้าเฝ้า
เมื่อนายสุมนมาลาการมาเข้าเฝ้าแล้ว พระเจ้าพิมพิสารตรัสยกย่องสรรเสริญนายสุมนมาลาการว่าเป็นมหาบุรุษ แล้วพระราชทานสิ่งของ ๘ ชนิด คือช้าง ม้า ทาส ทาสี เครื่องประดับ นารี อย่างละแปด ทรัพย์อีก ๘ พันกหาปณะและบ้านส่วยอีก ๘ ตำบล
เมื่อกลับถึงวัด พระอานนท์ได้ทูลถามถึงผลบุญที่นายสุมนมาลาการจะพึงได้รับ พระพุทธองค์ตรัสว่า นายสุมนมาลาการได้สละชีวิตบูชาพระองค์ในครั้งนี้จักไม่ได้ไปเกิดในนรกตลอดแสนกัลป์ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จเข้าพระคันธกุฏีดอกไม้เหล่านั้นจึงตกลงที่ประตูกุฎีนั้นแล
ตกเย็นวันนั้นพวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรม เรื่องการบูชาพระพุทธเจ้าของนายสุมนมาลาการแล้วได้รับของพระราชทาน ๘ อย่างจากพระเจ้าพิมพิสารพระพุทธองค์เสด็จมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุคคลทำกรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง เป็นผู้เอิบอิ่ม มีความสุขใจ นั่นแหละเรียกว่า กรรมดี"
นายสุมนมาลาการ เป็นอุบาสกที่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชนได้ท่านได้เสียสละชีวิตเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า นั่นคือ สละชีวิตเพื่อทำความดี รักษาความดีเอาไว้ แม้ชีวิตจะหาไม่ก็ตาม จึงเป็นบุคคลที่ควรยกย่องและเป็นแบบอย่างได้
นับแต่นั้นมานายมาลาการก็อยู่อย่างร่มเย็นปราศจากทุกข์ใดทั้งปวง ด้วยอานิสงส์ของการนำดอกมะลิบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแทนการตักบาตร
จากอานิสงส์ดังกล่าวแต่ครั้งพุทธกาลชาวพุทธทั่วไปจึงถือเป็น ประเพณี "ตักบาตรดอกไม้" เป็นประจำทุกปี ตลอดจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

กำเนิดตักบาตรดอกไม้ในพุทธตำนาน
ความเป็นมาของการตักบาตรด้วยดอกไม้ เชื่อว่ามาจากพุทธตำนานที่กล่าวถึงในสมัยพุทธกาล มีเนื้อหาโดยสังเขปคือ (ประคอง นิมมานเหมินทร์ 2542 : 2255 ; คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ 2544 : 168-172) พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ ทรงโปรดปรานดอกมะลิมาก ในแต่ละวันจะรับสั่งให้นายสุมนะมาลาการ หรือนายมาลาการ นำดอกมะลิมาถวายถึงวันละ 8 กำมือ และต้องสนองพระอัธยาศัยของพระเจ้าพิมพิสารเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ซึ่งนายมาลาการก็ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี พระเจ้าพิมพิสารทรงพอพระราชหฤทัยจึงพระราชทานบำเหน็จรางวัลข้าวของมีค่าแก่นายมาลาการจำนวนมาก
วันหนึ่งขณะที่นายมาลาการกำลังเก็บดอกมะลิ ได้พบเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จออกบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่ง นายมาลาการสังเกตเห็นฉัพพรรณรังสี (“ฉัพพรรณรังสี” คือสีที่แผ่ออกจากพระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี 6 สี คือ (1) สีนีละ - สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน หรือสีน้ำเงิน (2) สีปีตะ – สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง (3) สีโรหิตะ – สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน (4) สีโอทาตะ – สีขาวเงินยวง (5) สีมัญเชฏฐะ – สีแสดเหมือนหงอนไก่ (6) สีประภัสสร - สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก (คือสีทั้ง 5 ข้างต้นรวมกัน)) ฉายประกายรอบพระวรกาย จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธองค์เป็นอย่างยิ่ง ตัดสินใจจะนำดอกมะลิที่มีไปถวายพระพุทธเจ้า พร้อมกันนั้นก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าวของทุกสิ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงมอบให้เพียงเพื่อยังชีพในภพนี้เท่านั้น แต่การนำดอกไม้ถวายบูชาแด่พระพุทธองค์สร้างอานิสงส์ทั้งภพนี้และภพหน้า หากถูกประหารชีวิตเพราะไม่ได้ถวายดอกมะลิก็ยินยอม
นายมาลาการจึงได้โปรยดอกมะลิไปยังพระพุทธองค์ 2 กำมือ เกิดอภินิหารดอกมะลิลอยวนอยู่เหนือพระเศียร 3 รอบ แล้วรวมกันเป็นเพดานลอยเป็นแพคุ้มกันแดดแก่พระพุทธองค์ เมื่อโปรยอีก 2 กำมือ ดอกมะลิก็ลอยวน 3 รอบอีก แล้วไปรวมเป็นแพอยู่ทางด้านปฤษฎางค์ นายมาลาการได้โปรยมะลิอีก 2 กำมือ ดอกมะลิก็ลอยวนเวียน 3 รอบ แล้วไปรวมเป็นแพอยู่ทางด้านซ้ายพระหัตถ์ของพระพุทธองค์ แล้วมะลิทั้ง 8 กำมือก็หันขั้วเข้าหาพระวรกายพระพุทธองค์ และหันกลีบออกภายนอก เว้นเป็นช่องไว้ทางด้านหน้าสำหรับพุทธดำเนินเท่านั้น
หลังจากนั้นนายมาลาการได้นำดอกมะลิหว่านโปรยบูชาพระพุทธองค์ เดินตามพระองค์ไป ซึ่งเป็นไปด้วยความปีติ 5 ประการ และได้เข้ายังพุทธรัศมีของพระองค์ จากนั้นจึงได้ก้มลงถวายบังคม ครั้นภรรยานายมาลาการทราบความก็เกรงกลัวว่าจะต้องโทษที่สามีไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้าพิมพิสาร จึงได้หลบหนีออกจากบ้านไป แต่หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบกลับพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ได้ปูนบำเหน็จรางวัลความดีความชอบแก่นายมาลาการ นับแต่นั้นมา ชีวิตของนายมาลาการก็อยู่อย่างมีความสุข เรื่องราวจากพุทธตำนานนี้เองทำให้เกิดการตักบาตรดอกไม้ และ “ประเพณีตักบาตรดอกไม้” เป็นประจำทุกปีในวันเข้าพรรษา จวบจนกระทั่งปัจจุบัน
 
รู้จักดอกเข้าพรรษา
ความพิเศษโดดเด่นที่ไม่เหมือนใครในประเพณีตักบาตรดอกไม้ก็คือ ในวันเข้าพรรษาชาวอำเภอพระพุทธบาทจะนำดอกไม้ชนิดหนึ่งทำบุญใส่บาตรให้พระภิกษุสงฆ์ สำหรับดอกไม้ชนิดนั้นก็คือ “ดอกเข้าพรรษา” ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีต้นคล้ายๆต้นกระชาย หรือ ขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศษ
ดอกเข้าพรรษานิยมขึ้นตามป่าเขา มีลำต้นเป็นกอ หัว หรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ตัวดอกมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อบนส่วนยอด มีหลากหลายสี เช่น สีขาว เหลือง เหลืองแซมม่วง
เมื่อชาวบ้านเก็บดอกเข้าพรรษามาแล้วก็จะนำมามัดรวมกับธูป เทียน แล้วมาตั้งแถวรอพระสงฆ์อยู่ 2 ข้างถนนตั้งแต่วงเวียนถนนสายคู่ไปจนถึงประตูมณฑปพระพุทธบาท ครั้นถึงเวลาที่เป็นมงคล พระภิกษุสงฆ์ก็จะออกบิณฑบาต พร้อมๆกับขบวนแห่อันคึกครื้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตักบาตรดอกไม้ วัดเขาบางทราย 2559
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตักบาตรดอกไม้ วัดเขาบางทราย 2559


วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

เราได้เรียนรู้
การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 นั้นคุณครูและอาจารย์จะได้รับความช่วยเหลือหรือตัวช่วยนั้นคือ PLC หรือ Professional Learning Community คือการรวมตัวทำหน้าที่ของครูยุคใหม่ และช่วยกันทำด้วยกันและคิด ดีกว่าทำคนเดียว สาระวิชาหลัก ภาษาแม่และภาษาสำคัญของโลกศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐและความเป็นพลเมืองที่ดี มีแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโลก,ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการผู้ประกอบการ,ความรู้ด้านการพลเมืองที่ดี,ความรู้ด้านสุขภาพ,ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีทักษะอยู่ 3 อย่าง คือ ทักษะชีวิตและการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย ความยืดหยุนและการปรับตัว,การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตนเอง,ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม,การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบเชื่อถือได้
ทักษะการเรียนรู้และวัฒกรรม ซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม,การสื่อสารและความร่วมมือ,การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ทักษะด้านสารสนเทศสื่อ และเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย ใช้และประเมินสารสรเทศได้อย่างเท่ากัน,ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ,วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้เหม่าะสม
สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
อาจารยืทุกคนล้วนช่วยกันในการที่จะสอนนักเรียนของตนเองได้เสมอ สำหรับนักเรียนก็จะได้เรียนรู้ได้อย่างเข้าได้อย่างเร็วสำหรับหลายคน สำหรับคนที่เข้าใจก็สามารถถามอาจารย์หรือเพื่อนที่เข้าใจแล้วได้เพื่อให้เราจะได้เข้าใจที่พวกเราเรียนมาได้แล้วสามารถที่นำการเรียนที่เราเรียนมาทุกอย่างมาให้ความรู้แก่คนอื่นได้ หรือนำความรู้นี้ไปหางานหรือนำมาหารายส่วนตัวได้เสมอ ตลอดเวลา

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เพรง ยังโสด

เพลงโสดอยู่รู้ยัง (Single Lady)

*เชื่อ อยากให้เชื่อ อยากให้เชื่อนะคะได้โปรด
ชอบ แบบว่าชอบ ชอบคิดว่าคิดว่าไม่โสด
**โสดอยู่ รู้ยัง รู้ยัง รู้ยัง รู้ยัง อยากร้องดังๆว่าฉันยังโสดรู้ไหม ถ้าเป็นเธอไม่ต้องหวั่นใจฉันรอให้มาขอเบอร­์
โสดอยู่ รู้ยัง รู้ยัง รู้ยัง รู้ยัง ตอนนี้กำลังอยากเห็นคนกล้านะเออ เว้นห้องใจว่างไว้ให้เธอ ถ้าเธอโทรมานัดเจอโสดเสมอทุกเวลา
พูดไปก็ไม่ค่อยเชื่อ ต้องให้ถอดเสื้อดูใจมั้ยหล่ะ ทุกคนที่เดินเกี่ยวแขนน่ะไม่ใช่แฟนไม่แมนด­้วยซ้ำปะ
มีแต่เพื่อนสาวล้วนๆ ปาร์ตี้เป็นก๊วน ผู้ชายไม่มีค่ะ อย่าคิดว่าแซ่บแบบนี้มีแฟนแล้วสิไม่แน่หรอ­กน้า
มีๆแค่ติ่งทุกราย ที่อยู่ใน line หรือที่กดไลค์มา ไม่มีใครให้หวั่นไหวเข้าตา มีแต่เธอนะที่ใจสะเทือนเข้มใหญ่ยาวขาวแบบเ­ธอทุกมุม โปรสุดคุ้มยอมให้จีบทุกเดือน ไม่ต้องรอเป็นพี่ชายหรือเพื่อน เข้ามาเยือนถึงหัวใจได้เลย
(ซ้ำ **, *)
ดูหนังหรือไปเที่ยวห้าง ลองนัดมาบ้างห้องใจก็ว่าง อยากมีคนพาไปเสม็ดยังโสดไม่เสร็จสักทีเบื่­อจัง
Social มีแต่แฟนคลับ อยากได้แฟนขับขับรถให้นั่งถ้าเธอยังโสดจริ­งๆพร้อม featuring sing a song กันยัง
มีๆแค่ติ่งทุกราย ที่อยู่ใน line หรือที่กดไลค์มา ไม่มีใครให้หวั่นไหวเข้าตา มีแต่เธอนะที่ใจสะเทือน
เข้มใหญ่ยาวขาวแบบเธอทุกมุมโปรสุดคุ้มยอมใ­ห้จีบทุกเดือนไม่ต้องรอเป็นพี่ชายหรือเพื่­อน เข้ามาเยือนถึงหัวใจได้เลย
(ซ้ำ **, **)





อ้างอิง

เพรง ยังโสด